วัดโพธิ์
หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนั้น เป็น 1 ใน 9 วัดที่มีการโฆษณาให้ ประชาชนไปไหว้ นัยหนึ่งเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
พระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ในวัด ไม่มีประวัติบอกยุคและศิลปะ
ทั้งที่เป็นพระพุทธรูปสำคัญระดับคู่บ้านคู่เมือง
มีเพียงที่จุดธูปเทียนกราบไหว้บูชา และตู้รับบริจาคเงิน
การเข้าวัด ไม่ว่าจะไปด้วยจุดประสงค์ใด แต่เมื่อไปถึงวัดแล้ว น่าจะมีโอกาสรับรู้ว่า วัดโพธิ์ เป็นวัดที่รวบรวมพระพุทธรูปสำคัญ และที่จะไม่ เข้าใจกันนักก็คือวัดโพธิ์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นมหาวิทยาลัยยิ่งใหญ่ ศูนย์รวมสรรพวิทยาของแผ่นดิน
ในวารสารวัฒนธรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2552 ส.พลายน้อย เขียนเรื่องวัดโพธิ์ไว้ว่า...6 ปี หลังรัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดโพธาราม ใกล้กำแพงวัดด้านทิศใต้ ซึ่งอยู่ในย่านการค้า ยังเป็นวัดที่ร่วงโรยใกล้สภาพวัดร้าง
มีพระราชศรัทธา โปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดเต็มที่ เนื่องจากพื้นดินเป็นที่ลุ่ม จึงเริ่มด้วยการถมดินเป็นการใหญ่ ใช้คนถึงสองหมื่นเศษช่วยกันขนดิน สิ้นพระราชทรัพย์ไปในการซื้อดินเป็นเงินถึง 250 ชั่ง 15 ตำลึง (16,460 บาท) และต้องรอให้ดินแน่นตัวนานอีก 3-4 ปี
"ครั้นถึง 28 พ.ย.2336 จึงจัดการสร้างพระอุโบสถ 30 ม.ค.2337 โปรดฯให้ชักชะลอ พระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพชญ์ที่ชำรุดมาแต่ กรุงเก่า เข้ามาวางบนรากฐาน ก่อพระเจดีย์ครอบ นับเป็นพระมหาเจดีย์ใหญ่องค์แรกของวัด สูง 82 ศอก ถวายนามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญ์-ดาญาณ"
ยังได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากร ทองเหลือง สำริด ซึ่งชำรุดปรักหักพังอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี กรุงเก่า ทั้งองค์ใหญ่องค์น้อยรวม 1,248 องค์ มาให้ช่างหล่อต่อพระเศียร พระศอ พระหัตถ์ พระบาท เสร็จบริบูรณ์แล้ว อัญเชิญประดิษฐานไว้ในพระอาราม
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ และโปรดให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ ความยาว 1 เส้น 3 วา ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง พระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) ทรงกำกับการสร้าง นับเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีความงามเป็นเลิศ
และในโอกาสปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่นี้ รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริว่า คนไทยขาดการเรียนรู้ ขาดประสบการณ์ เพราะไม่มีสถานที่ที่จะให้ความรู้ในวิชาการต่างๆ จึงทรงรวบรวมความรู้ทุกสาขามาจารึกเป็นตำราขึ้นไว้ เช่น ตำรายา ตำราหมอนวด ใครปวดเมื่อยขัดยอก ก็ให้ไปดูรูปฤาษีดัดตน (หล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก) จำนวน 82 รูป
ในเวลาต่อมารูปฤาษีดัดตนชำรุดเสียหายไปมาก พวกขี้ยามาขโมยขายเป็นเศษโลหะหลายครั้ง ครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 จับได้เป็นหลักฐาน นายสุก ทหารรักษาวัง ขโมยเอาไป 16 รูป ปัจจุบัน ทางวัดได้ปั้นเพิ่มเติมขึ้นใหม่ แต่เข้าใจว่าจำนวนยังไม่ครบเท่าของเดิม
ตำราวิชาการ ที่รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทรงรวบรวมไว้ ผ่านการชำระตรวจสอบความถูกต้อง จัดทำเป็นจารึกไว้ในแผ่นดินชนวน ประดับไว้ตามศาลา ให้มองเห็นได้ง่าย บางเรื่องเข้าใจยาก โปรดให้เขียนรูปแสดงไว้ด้วย
ตำราวิชาการเหล่านี้ แบ่งเป็นสามหมู่ 1. วิชาหนังสือ หรืออักษรศาสตร์ ได้แก่ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ 2. วิชาแพทย์ และ 3. วิชาช่าง เฉพาะวิชาช่าง มีภาพให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น ช่างเขียนภาพ และลาย ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างประดับ ฯลฯ
สรุปว่า การบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้วัดโพธิ์เป็นวัดที่สวยงาม มีสิ่งน่าสนใจ ทำให้ผู้คนอยากรู้อยากดู เทศกาลสงกรานต์สามวัน ทางวัดก็จะเปิดให้ฝ่ายใน (ชาววังจากราชสำนัก) ออกไปสรงน้ำพระ นำข้าวบิณฑ์ไปถวายพระพุทธรูป โปรยทาน และเที่ยวชมสถานที่ต่างๆตั้งแต่เช้าถึงเย็น
เมื่อฝ่ายในไปเที่ยว ราษฎรสามัญก็กระหายอยากไปด้วย โปรดให้มีพนักงานคอยเก็บเงิน ถ้าเป็นไพร่ ก็ให้เสียแต่เล็กน้อยตามแต่ศรัทธา
แต่ถ้าเป็นผู้ดี (มีเงิน) ก็ให้เสียตั้งแต่เฟื้องหนึ่งไปจนถึงสองบาท รายได้ที่เก็บนี้ถือเป็นการกุศล รวมเงินที่เก็บได้ในสามวันสงกรานต์ สามชั่งถึงสี่ชั่ง ก็ให้ถวายพระพิมลธรรม เจ้าอาวาสไว้สำหรับเป็นค่าปฏิสังขรณ์ ปัดกวาด ถางหญ้า ถอนต้นไม้ในวัดให้สะอาดเรียบร้อย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเล่นสงกรานต์ที่วัดโพธิ์ มีชื่อเสียงมาก มีคนเขียนกลอนนิราศ เล่าถึงคนที่เข้าไปเล่นสะบ้าในวัดเอาไว้ "พอมาสบพบปะพวกสะบ้า เสียงเฮฮาเล่นกันลั่นวิหาร ที่ใครแพ้ต้องรำทำประจาน สนุกสนานสาวหนุ่มแน่น กลุ้มดู..."
ส.พลายน้อย เล่าไว้ด้วยว่า เมื่อวัดโพธิ์ เป็นวัดใหญ่ที่ใครๆก็ต้องไป แต่คนจำนวนมากที่เข้าวัดมีวัฒนธรรมต่างกัน มีนิสัยดีบ้าง ไม่ดีบ้าง การประพฤติปฏิบัติก็ขาดระเบียบ ทิ้งของไม่เป็นที่ ถ่มน้ำลาย หรือแสดงกิริยาไม่เหมาะ
ในสมัยนี้จึงโปรดฯให้นำกรงเหล็กไปตั้งไว้ ในลานวัด ในจุดที่มองเห็นกันทั่ว แล้วมีประกาศให้ทราบทั่วกันว่า หากใครทำตัวไม่เหมาะดังว่า จะต้องถูกจับขังไว้ในกรง เป็นการประจาน
สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดโพธิ์ ไม่เพียงเป็นแค่ศูนย์กลางของผู้คนในสังคม ยังเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ใครสนใจวิชาแขนงใด ก็มาคัดลอกเอาไปศึกษาได้ ไม่มีการหวงห้าม
เจ็บไข้ได้ป่วยเล็กน้อย ก็มาจดตัวยาไปซื้อยา มาทำกินได้เอง
เหล่านี้เป็นการศึกษาสำหรับพวกผู้ใหญ่ มีเรื่องเล่าไว้ด้วยว่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้จ้างอาจารย์มาสอนหนังสือเด็กๆ ที่เก๋งโรงทานข้างเหนือริมประตูศรีสุนทร วัดโพธิ์ จึงนับเป็นแห่งแรก ที่มีโรงเรียนหลวงตั้งขึ้น.
การเข้าวัด ไม่ว่าจะไปด้วยจุดประสงค์ใด แต่เมื่อไปถึงวัดแล้ว น่าจะมีโอกาสรับรู้ว่า วัดโพธิ์ เป็นวัดที่รวบรวมพระพุทธรูปสำคัญ และที่จะไม่ เข้าใจกันนักก็คือวัดโพธิ์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นมหาวิทยาลัยยิ่งใหญ่ ศูนย์รวมสรรพวิทยาของแผ่นดิน
ในวารสารวัฒนธรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2552 ส.พลายน้อย เขียนเรื่องวัดโพธิ์ไว้ว่า...6 ปี หลังรัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดโพธาราม ใกล้กำแพงวัดด้านทิศใต้ ซึ่งอยู่ในย่านการค้า ยังเป็นวัดที่ร่วงโรยใกล้สภาพวัดร้าง
มีพระราชศรัทธา โปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดเต็มที่ เนื่องจากพื้นดินเป็นที่ลุ่ม จึงเริ่มด้วยการถมดินเป็นการใหญ่ ใช้คนถึงสองหมื่นเศษช่วยกันขนดิน สิ้นพระราชทรัพย์ไปในการซื้อดินเป็นเงินถึง 250 ชั่ง 15 ตำลึง (16,460 บาท) และต้องรอให้ดินแน่นตัวนานอีก 3-4 ปี
"ครั้นถึง 28 พ.ย.2336 จึงจัดการสร้างพระอุโบสถ 30 ม.ค.2337 โปรดฯให้ชักชะลอ พระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพชญ์ที่ชำรุดมาแต่ กรุงเก่า เข้ามาวางบนรากฐาน ก่อพระเจดีย์ครอบ นับเป็นพระมหาเจดีย์ใหญ่องค์แรกของวัด สูง 82 ศอก ถวายนามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญ์-ดาญาณ"
ยังได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากร ทองเหลือง สำริด ซึ่งชำรุดปรักหักพังอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี กรุงเก่า ทั้งองค์ใหญ่องค์น้อยรวม 1,248 องค์ มาให้ช่างหล่อต่อพระเศียร พระศอ พระหัตถ์ พระบาท เสร็จบริบูรณ์แล้ว อัญเชิญประดิษฐานไว้ในพระอาราม
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ และโปรดให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ ขนาดใหญ่ ความยาว 1 เส้น 3 วา ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง พระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) ทรงกำกับการสร้าง นับเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีความงามเป็นเลิศ
และในโอกาสปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่นี้ รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริว่า คนไทยขาดการเรียนรู้ ขาดประสบการณ์ เพราะไม่มีสถานที่ที่จะให้ความรู้ในวิชาการต่างๆ จึงทรงรวบรวมความรู้ทุกสาขามาจารึกเป็นตำราขึ้นไว้ เช่น ตำรายา ตำราหมอนวด ใครปวดเมื่อยขัดยอก ก็ให้ไปดูรูปฤาษีดัดตน (หล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก) จำนวน 82 รูป
ในเวลาต่อมารูปฤาษีดัดตนชำรุดเสียหายไปมาก พวกขี้ยามาขโมยขายเป็นเศษโลหะหลายครั้ง ครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 จับได้เป็นหลักฐาน นายสุก ทหารรักษาวัง ขโมยเอาไป 16 รูป ปัจจุบัน ทางวัดได้ปั้นเพิ่มเติมขึ้นใหม่ แต่เข้าใจว่าจำนวนยังไม่ครบเท่าของเดิม
ตำราวิชาการ ที่รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทรงรวบรวมไว้ ผ่านการชำระตรวจสอบความถูกต้อง จัดทำเป็นจารึกไว้ในแผ่นดินชนวน ประดับไว้ตามศาลา ให้มองเห็นได้ง่าย บางเรื่องเข้าใจยาก โปรดให้เขียนรูปแสดงไว้ด้วย
ตำราวิชาการเหล่านี้ แบ่งเป็นสามหมู่ 1. วิชาหนังสือ หรืออักษรศาสตร์ ได้แก่ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ 2. วิชาแพทย์ และ 3. วิชาช่าง เฉพาะวิชาช่าง มีภาพให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น ช่างเขียนภาพ และลาย ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างประดับ ฯลฯ
สรุปว่า การบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้วัดโพธิ์เป็นวัดที่สวยงาม มีสิ่งน่าสนใจ ทำให้ผู้คนอยากรู้อยากดู เทศกาลสงกรานต์สามวัน ทางวัดก็จะเปิดให้ฝ่ายใน (ชาววังจากราชสำนัก) ออกไปสรงน้ำพระ นำข้าวบิณฑ์ไปถวายพระพุทธรูป โปรยทาน และเที่ยวชมสถานที่ต่างๆตั้งแต่เช้าถึงเย็น
เมื่อฝ่ายในไปเที่ยว ราษฎรสามัญก็กระหายอยากไปด้วย โปรดให้มีพนักงานคอยเก็บเงิน ถ้าเป็นไพร่ ก็ให้เสียแต่เล็กน้อยตามแต่ศรัทธา
แต่ถ้าเป็นผู้ดี (มีเงิน) ก็ให้เสียตั้งแต่เฟื้องหนึ่งไปจนถึงสองบาท รายได้ที่เก็บนี้ถือเป็นการกุศล รวมเงินที่เก็บได้ในสามวันสงกรานต์ สามชั่งถึงสี่ชั่ง ก็ให้ถวายพระพิมลธรรม เจ้าอาวาสไว้สำหรับเป็นค่าปฏิสังขรณ์ ปัดกวาด ถางหญ้า ถอนต้นไม้ในวัดให้สะอาดเรียบร้อย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเล่นสงกรานต์ที่วัดโพธิ์ มีชื่อเสียงมาก มีคนเขียนกลอนนิราศ เล่าถึงคนที่เข้าไปเล่นสะบ้าในวัดเอาไว้ "พอมาสบพบปะพวกสะบ้า เสียงเฮฮาเล่นกันลั่นวิหาร ที่ใครแพ้ต้องรำทำประจาน สนุกสนานสาวหนุ่มแน่น กลุ้มดู..."
ส.พลายน้อย เล่าไว้ด้วยว่า เมื่อวัดโพธิ์ เป็นวัดใหญ่ที่ใครๆก็ต้องไป แต่คนจำนวนมากที่เข้าวัดมีวัฒนธรรมต่างกัน มีนิสัยดีบ้าง ไม่ดีบ้าง การประพฤติปฏิบัติก็ขาดระเบียบ ทิ้งของไม่เป็นที่ ถ่มน้ำลาย หรือแสดงกิริยาไม่เหมาะ
ในสมัยนี้จึงโปรดฯให้นำกรงเหล็กไปตั้งไว้ ในลานวัด ในจุดที่มองเห็นกันทั่ว แล้วมีประกาศให้ทราบทั่วกันว่า หากใครทำตัวไม่เหมาะดังว่า จะต้องถูกจับขังไว้ในกรง เป็นการประจาน
สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดโพธิ์ ไม่เพียงเป็นแค่ศูนย์กลางของผู้คนในสังคม ยังเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ใครสนใจวิชาแขนงใด ก็มาคัดลอกเอาไปศึกษาได้ ไม่มีการหวงห้าม
เจ็บไข้ได้ป่วยเล็กน้อย ก็มาจดตัวยาไปซื้อยา มาทำกินได้เอง
เหล่านี้เป็นการศึกษาสำหรับพวกผู้ใหญ่ มีเรื่องเล่าไว้ด้วยว่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้จ้างอาจารย์มาสอนหนังสือเด็กๆ ที่เก๋งโรงทานข้างเหนือริมประตูศรีสุนทร วัดโพธิ์ จึงนับเป็นแห่งแรก ที่มีโรงเรียนหลวงตั้งขึ้น.
ที่มา : คอลัมน์ คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย...บาราย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น