ปี 2411 ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จครองราชย์นั้น เมืองไทยยังไม่มีโรงพยาบาลของรัฐ โรม บุนนาค เขียนไว้ในหนังสือ
เหตุเกิดในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 (สำนักพิมพ์สยามบันทึก) ว่า ปี
2424 เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดชักชวนเจ้านายและข้าราชการ ให้ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราว 48 แห่ง รักษาตามวังและบ้าน เพื่อช่วยเหลือประชาชน เมื่ออหิวาต์สงบ ก็เลิกไป รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงความจำเป็น โปรดให้ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งโรงพยาบาล เมื่อ 23 มี.ค.2429
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดชักชวนเจ้านายและข้าราชการ ให้ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราว 48 แห่ง รักษาตามวังและบ้าน เพื่อช่วยเหลือประชาชน เมื่ออหิวาต์สงบ ก็เลิกไป รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงความจำเป็น โปรดให้ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งโรงพยาบาล เมื่อ 23 มี.ค.2429
คณะกรรมการเห็นว่า โรงพยาบาลใหม่ควรตั้งเพียงแห่งเดียวก่อน
เมื่อคนเห็นคุณประโยชน์แล้ว จึงค่อยจัดสร้างเพิ่ม จากนั้นก็ขอแบ่งที่ดิน
อันเคยเป็นที่ตั้งของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ซึ่งทิ้งรกร้างอยู่ฝั่งธนบุรี
และซื้อที่ดินด้านเหนือโรงเรียนวังหลังของมิชชันนารีอเมริกัน
ทำท่าน้ำขึ้นโรงพยาบาล
กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงรับภาระฝ่ายก่อสร้าง พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงรับภาระฝ่ายจัดการบริหารโรงพยาบาล ระหว่างดำเนินการไปได้ 2 เดือน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ ขณะทรงมีพระชนมายุ 1 ปี 6 เดือน
โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง ร่วมกับงานพระเมรุของพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า
พาหุรัตมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรรุตนธำรง โปรดฯให้ก่อพระเมรุด้วยไม้ที่ทนทาน เช่นไม้สัก สร้างเป็นเรือนต่างๆ โดยมีพระราชประสงค์เมื่อเสร็จงาน จะนำไปพระราชทานใช้ก่อสร้างโรงพยาบาล
เสร็จงานพระเมรุ การก่อสร้างโรงพยาบาลเริ่มต้น ด้วยการปลูกเรือนไม้ มุงหลังคาจากใหญ่ 3 หลัง เล็ก 3 หลัง สำหรับเป็นเรือนคนไข้ พร้อมทั้งเรือนอำนวยการและที่เก็บยาผสมยา เรือนผู้ดูแลโรงพยาบาล เรือนแถวผู้รับใช้ โรงครัว ท่าน้ำ สะพาน ถนนกำแพง โดยยังไม่ปลูกให้ใหญ่โต พระราชเงินทุนขั้นต้น 16,000 บาท รวมเงินสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ 56,000 บาท คณะกรรมการนำเงินจำนวนนี้ สร้างอาคารเปิดสอนวิชาแพทย์
วันที่ 26 เม.ย.2431 เปิดรับรักษาคนไข้ พระราชทานนามว่า "โรงศิริราชพยาบาล" แต่กิจการโรงพยาบาลก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ใน "นิทานแรกตั้งโรงพยาบาล" ว่า
ความลำบากข้อแรก เริ่มแต่หาหมอประจำ จะเลือกหมอชำนาญการ ซึ่งมักเป็นหมอหลวง มาเป็นนายแพทย์ แต่หมอถือตัวกันเป็นต่างพวก ไม่เชื่อถือหมออื่น สอบถามกันแล้ว จะเอาตำราหมอหลวง ใช้เป็นหลักก็ไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องไปเชิญพระประสิทธิวิทยา (หนู) หมอมีชื่อเสียงและคุ้นเคยมาเป็นนายแพทย์ใหญ่ และให้เลือกหมอหนุ่มที่เป็นศิษย์มาเป็นรองอีกสองคน คือหมอคง ถาวรเวช และหมอนิ่ม โกมลเวช
การเปิดรับรักษาครั้งแรก ใช้ทั้งแผนไทยและแผนใหม่แบบตะวันตก สำหรับแผนฝรั่งนั้นให้หมอ ปีเตอร์ กาแวน แพทย์หลวง เป็นหมอใหญ่
ได้หมอมาแล้ว ก็ใช่ว่าจะหมดปัญหา แม้จะไม่คิดค่ารักษาพยาบาล ฟรีทั้งค่ายา ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่ารักษา แต่เปิดโรงพยาบาลอยู่หลายวัน ก็ไม่มีคนไข้มารักษา เพราะไม่ไว้วางใจ มีแต่คนไข้อาการเพียบหามมา รักษาแล้วก็ตาย ทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นเรือนตาย เกิดความกลัวกันเข้าไปอีก จึงต้องไปตระเวนหาคนไข้ที่พอจะรักษาหายมาเข้าโรงพยาบาล แต่ก็หาไม่ได้
มีผู้แนะนำให้ไปต้อนขอทาน ที่เป็นแผลพุพองตามหน้าแข้ง นั่งขอทานอยู่แถวสะพานมารักษา หมอกาแวนยืนยันว่ารักษาได้ไม่ยาก แต่พวกขอทานที่เป็นคนจีน พอรู้ว่าจะถูกเอาตัวไปรักษาแล้วหาย ก็จะขอทานไม่ได้ก็ไม่ยอมมา ในที่สุดก็ต้องไปกวาดต้อนบ่าวไพร่พวกขุนนางมารักษา ความเชื่อถือก็ค่อยๆดีขึ้น
อีกเรื่องคือการคลอดลูก ธรรมเนียมไทยโบราณ คลอดลูกแล้วต้องนอนบนกระดานเอาเตาไฟสุมเรียกว่าอยู่ไฟ 15 วัน โรงศิริราชพยาบาลมีการทำคลอดตามแผนใหม่ แต่คนไข้ยังขออยู่ไฟ บางรายมีสายสิญจน์ แขวนยันต์กันผีรอบเตียง โรงพยาบาลก็ต้องอนุโลม
จนเมื่อสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงป่วยเป็นไข้ตอนประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฏางค์ เดชาวุธ ทรงเลื่อมใสการคลอดแผนใหม่ ทรงชักชวนและพระราชทานเงินทำขวัญ 4 บาทให้คนที่คลอดตามแผนใหม่ คนก็เริ่มศรัทธา เลิกการอยู่ไฟในโรงพยาบาลได้ในเวลาต่อมา.
กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงรับภาระฝ่ายก่อสร้าง พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงรับภาระฝ่ายจัดการบริหารโรงพยาบาล ระหว่างดำเนินการไปได้ 2 เดือน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ ขณะทรงมีพระชนมายุ 1 ปี 6 เดือน
โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง ร่วมกับงานพระเมรุของพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า
พาหุรัตมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรรุตนธำรง โปรดฯให้ก่อพระเมรุด้วยไม้ที่ทนทาน เช่นไม้สัก สร้างเป็นเรือนต่างๆ โดยมีพระราชประสงค์เมื่อเสร็จงาน จะนำไปพระราชทานใช้ก่อสร้างโรงพยาบาล
เสร็จงานพระเมรุ การก่อสร้างโรงพยาบาลเริ่มต้น ด้วยการปลูกเรือนไม้ มุงหลังคาจากใหญ่ 3 หลัง เล็ก 3 หลัง สำหรับเป็นเรือนคนไข้ พร้อมทั้งเรือนอำนวยการและที่เก็บยาผสมยา เรือนผู้ดูแลโรงพยาบาล เรือนแถวผู้รับใช้ โรงครัว ท่าน้ำ สะพาน ถนนกำแพง โดยยังไม่ปลูกให้ใหญ่โต พระราชเงินทุนขั้นต้น 16,000 บาท รวมเงินสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ 56,000 บาท คณะกรรมการนำเงินจำนวนนี้ สร้างอาคารเปิดสอนวิชาแพทย์
วันที่ 26 เม.ย.2431 เปิดรับรักษาคนไข้ พระราชทานนามว่า "โรงศิริราชพยาบาล" แต่กิจการโรงพยาบาลก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ใน "นิทานแรกตั้งโรงพยาบาล" ว่า
ความลำบากข้อแรก เริ่มแต่หาหมอประจำ จะเลือกหมอชำนาญการ ซึ่งมักเป็นหมอหลวง มาเป็นนายแพทย์ แต่หมอถือตัวกันเป็นต่างพวก ไม่เชื่อถือหมออื่น สอบถามกันแล้ว จะเอาตำราหมอหลวง ใช้เป็นหลักก็ไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องไปเชิญพระประสิทธิวิทยา (หนู) หมอมีชื่อเสียงและคุ้นเคยมาเป็นนายแพทย์ใหญ่ และให้เลือกหมอหนุ่มที่เป็นศิษย์มาเป็นรองอีกสองคน คือหมอคง ถาวรเวช และหมอนิ่ม โกมลเวช
การเปิดรับรักษาครั้งแรก ใช้ทั้งแผนไทยและแผนใหม่แบบตะวันตก สำหรับแผนฝรั่งนั้นให้หมอ ปีเตอร์ กาแวน แพทย์หลวง เป็นหมอใหญ่
ได้หมอมาแล้ว ก็ใช่ว่าจะหมดปัญหา แม้จะไม่คิดค่ารักษาพยาบาล ฟรีทั้งค่ายา ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่ารักษา แต่เปิดโรงพยาบาลอยู่หลายวัน ก็ไม่มีคนไข้มารักษา เพราะไม่ไว้วางใจ มีแต่คนไข้อาการเพียบหามมา รักษาแล้วก็ตาย ทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นเรือนตาย เกิดความกลัวกันเข้าไปอีก จึงต้องไปตระเวนหาคนไข้ที่พอจะรักษาหายมาเข้าโรงพยาบาล แต่ก็หาไม่ได้
มีผู้แนะนำให้ไปต้อนขอทาน ที่เป็นแผลพุพองตามหน้าแข้ง นั่งขอทานอยู่แถวสะพานมารักษา หมอกาแวนยืนยันว่ารักษาได้ไม่ยาก แต่พวกขอทานที่เป็นคนจีน พอรู้ว่าจะถูกเอาตัวไปรักษาแล้วหาย ก็จะขอทานไม่ได้ก็ไม่ยอมมา ในที่สุดก็ต้องไปกวาดต้อนบ่าวไพร่พวกขุนนางมารักษา ความเชื่อถือก็ค่อยๆดีขึ้น
อีกเรื่องคือการคลอดลูก ธรรมเนียมไทยโบราณ คลอดลูกแล้วต้องนอนบนกระดานเอาเตาไฟสุมเรียกว่าอยู่ไฟ 15 วัน โรงศิริราชพยาบาลมีการทำคลอดตามแผนใหม่ แต่คนไข้ยังขออยู่ไฟ บางรายมีสายสิญจน์ แขวนยันต์กันผีรอบเตียง โรงพยาบาลก็ต้องอนุโลม
จนเมื่อสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงป่วยเป็นไข้ตอนประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฏางค์ เดชาวุธ ทรงเลื่อมใสการคลอดแผนใหม่ ทรงชักชวนและพระราชทานเงินทำขวัญ 4 บาทให้คนที่คลอดตามแผนใหม่ คนก็เริ่มศรัทธา เลิกการอยู่ไฟในโรงพยาบาลได้ในเวลาต่อมา.
ที่มา : คอลัมน์ คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย...บายราย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น