เทพชู
ทับทอง เขียนไว้ในหนังสือ อนุทินกรุงเทพฯ ภาพแห่งความทรงจำว่า หลังจากนายอิสุมิ
โยสุกิ สร้างรถลากใช้ กันแพร่หลายในเมืองจีน ได้ราว 40 ปี ก็เริ่มแพร่หลายในเมืองไทย ราวปลายสมัยรัชกาลที่ 4
เริ่มจากจีนพุก รับราชการกรมท่าซ้าย ต่อมาเป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐี แต่งเรือสำเภาไปค้าขายที่จีน เห็นรถลากญี่ปุ่นวิ่งกันขวักไขว่ จึงซื้อมาหลายคัน แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯให้จีนพุกสั่งรถลากจากเมืองจีนอีกหลายสิบคัน เพื่อพระราชทานแก่เจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ต่อมา เจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าสัวในเมืองไทยหลายคน ก็สั่งให้จีนพุก ซื้อมาอีกเป็นจำนวนมาก รวมแล้วจำนวนหลายร้อยคัน
รถลากจำนวนนี้ หาได้วิ่งตามถนนรับจ้างบรรทุกคนและบรรทุกสิ่งของไม่ คงใช้วิ่งเป็นของหลวง และของส่วนตัว จนกระทั่ง นายฮวงเชียง แซ่โหงว พ่อค้าจีนในไทย สั่งรถลากจากญี่ปุ่นมาอีกจำนวนหนึ่ง คราวนี้เอามาวิ่งรับส่งคนโดยสารและบรรทุกสิ่งของ
แม้รถทำจากเมืองญี่ปุ่น แต่เนื่องจากใช้คนจีนลาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า รถเจ๊ก
ความนิยมรถลากเริ่มมากขึ้น จนสั่งซื้อจากญี่ปุ่นไม่ทัน พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) จึงคิด
ตั้งโรงงานทำรถลากขึ้นเอง โดยสั่งช่างจากเมืองจีนมาทำขายในเมืองไทย รถลากยิ่งแพร่หลายจากกรุงเทพฯออกไปยังเมืองต่างๆทั่วราชอาณาจักร
รถลากมากขึ้น ปัญหาการจราจรก็ตามมา
เทพชู ทับทอง เขียนว่า สมัยต้นรัชกาลที่ 5 ถนนในกรุงเทพฯ ยังมีอยู่ไม่กี่สาย แต่ละสายไม่เพียงแคบ ยังสั้น จะมีก็แต่ถนนเจริญกรุง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าถนนใหม่ สายเดียว ที่ยาวกว่า แต่ก็แคบกว่าปัจจุบันครึ่งหนึ่ง รถลากจึงเป็นเจ้าถนนแทนรถม้าซึ่งครองถนนแต่เดิม
ปัญหาการแย่งคนโดยสาร แย่งบรรทุกสิ่งของระหว่างรถรับจ้างด้วยกัน จนเกิดเรื่องวิวาทถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันและกัน ผู้โดยสารพลอยบาดเจ็บก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
เป็นที่มาของการตรา...พระราชบัญญัติรถลากรัตนโกสินทร์ศก 120 บังคับให้เจ้าของรถคนลากรถ ต้องไปจดทะเบียน แลนำรถมาตรวจสภาพต่อเจ้าพนักงาน ผู้จดทะเบียน ถ้าผู้ใดไม่ไปจดทะเบียน หรือใช้ใบอนุญาตสิ้นกำหนด หรือขูดลบเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายรถฯลฯ ผู้นั้นมีความผิด ปรับเป็นเงินไม่เกินคราวละ 40 บาท หรือจำคุกครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 เดือน
สำหรับผู้ลากรถและการบรรทุก ให้ปฏิบัติดังนี้
ผู้ลากรถต้องมีเครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อย และมีเครื่องหมายตรงกับจำนวนเลขหมายของรถติดตัว ต้องเดินรถข้างถนน และหลีกรถทางซ้ายของผู้ลาก ต้องจุดโคมไฟที่หน้ารถทั้งสองข้างในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น ต้องจอดรถพักรถตามที่ซึ่งเจ้าพนักงานได้กำหนดไว้
ให้รับผู้โดยสารได้ 3 คนคือผู้ใหญ่ 2 คน เด็กอายุไม่เกิน 10 ขวบ 1 คน ห้ามไม่ให้บรรทุกของโสโครก ห้ามไม่ให้บรรทุกสัตว์มีชีวิต เช่น สุกร แกะ แพะ เป็นต้น ห้ามไม่ให้บรรทุกคนโดยสารที่เป็นโรคติดต่อ ห้ามไม่ให้บรรทุกศพคน
ส่วนที่เกี่ยวกับผู้โดยสาร พระราชบัญญัติ นี้ได้บ่งไว้ว่า ถ้าทุบตีหรือทำร้ายคนลากรถ ฯลฯ หรือทำอันตรายรถ หรือผู้โดยสารไม่ยอมให้ค่าโดยสารหรือค่าบรรทุก เจ้าพนักงานกอง ตระเวนจะต้องระงับเหตุ และจับกุมส่งฟ้องศาล
ให้พิจารณาลงโทษเฉพาะ โดยบ่งไว้ ว่า ถ้าไม่ให้ค่าโดยสาร จะต้องถูกปรับไหม เป็นเงินไม่เกิน 8 บาท พร้อมทั้งเงินค่าโดยสารอีกต่างหาก
มาตรา 16 เมื่อเจ้าพนักงานผู้ตรวจรถลาก หรือเจ้าพนักงานในกรมกองตระเวน ได้เห็นรถลากคันใด ซึ่งเที่ยวรับจ้างอยู่ มีอาการอันไม่สมควร ตัวอย่างดังต่อไปนี้คือ
ข้อ 4 ถ้าผู้ลากรถทิ้งผู้โดยสาร ในที่ไม่ สมควรก่อนสิ้นระยะทาง อันได้สัญญากัน ก็ดี ข้อ 5 ถ้าผู้ลากรถเรียกเงินค่าจ้างเกินกว่าอัตรา หรือใช้คำหยาบช้า หรือประพฤติกิริยาหยาบคายต่อผู้โดยสาร ก็ดี
ให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจ หรือเจ้าพนักงานกรมกองตระเวน มีอำนาจที่จะเกาะผู้ลากรถนั้นมาติเตียนเรียกเงินประกันครั้งหนึ่งไม่เกิน 4 บาท อย่าให้ประพฤติผิดเช่นนั้นอีกภายในหนึ่งเดือน จึงคืนเงินให้
สำหรับอัตราค่าโดยสาร ระยะทางภายใน 25 เส้น คนเดียว 4 อัฐ สองคน 6 อัฐ ระยะทาง 50 เส้น คนเดียว 6 อัฐ สองคน 8 อัฐ ระยะทาง 75 เส้น คนเดียว 8 อัฐ สองคน 10 อัฐ ระยะทางทุกๆ 25 เส้นต่อไป ระยะละ 2 อัฐ
ค่าคอย ถ้าเกิน 15 นาที จนชั่วโมงหนึ่ง ค่าคอย 4 อัฐ ถ้าเกินกว่านั้น ภายในชั่วโมงละ 4 อัฐ
เทพชู ทับทอง เขียนไว้ว่า แม้จะมีการกำหนดอัตราค่าโดยสาร แต่กระนั้นในความเป็นจริง คนลากรถกับคนโดยสาร ยังต่อรองกันได้.
เริ่มจากจีนพุก รับราชการกรมท่าซ้าย ต่อมาเป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐี แต่งเรือสำเภาไปค้าขายที่จีน เห็นรถลากญี่ปุ่นวิ่งกันขวักไขว่ จึงซื้อมาหลายคัน แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯให้จีนพุกสั่งรถลากจากเมืองจีนอีกหลายสิบคัน เพื่อพระราชทานแก่เจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ต่อมา เจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าสัวในเมืองไทยหลายคน ก็สั่งให้จีนพุก ซื้อมาอีกเป็นจำนวนมาก รวมแล้วจำนวนหลายร้อยคัน
รถลากจำนวนนี้ หาได้วิ่งตามถนนรับจ้างบรรทุกคนและบรรทุกสิ่งของไม่ คงใช้วิ่งเป็นของหลวง และของส่วนตัว จนกระทั่ง นายฮวงเชียง แซ่โหงว พ่อค้าจีนในไทย สั่งรถลากจากญี่ปุ่นมาอีกจำนวนหนึ่ง คราวนี้เอามาวิ่งรับส่งคนโดยสารและบรรทุกสิ่งของ
แม้รถทำจากเมืองญี่ปุ่น แต่เนื่องจากใช้คนจีนลาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า รถเจ๊ก
ความนิยมรถลากเริ่มมากขึ้น จนสั่งซื้อจากญี่ปุ่นไม่ทัน พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) จึงคิด
ตั้งโรงงานทำรถลากขึ้นเอง โดยสั่งช่างจากเมืองจีนมาทำขายในเมืองไทย รถลากยิ่งแพร่หลายจากกรุงเทพฯออกไปยังเมืองต่างๆทั่วราชอาณาจักร
รถลากมากขึ้น ปัญหาการจราจรก็ตามมา
เทพชู ทับทอง เขียนว่า สมัยต้นรัชกาลที่ 5 ถนนในกรุงเทพฯ ยังมีอยู่ไม่กี่สาย แต่ละสายไม่เพียงแคบ ยังสั้น จะมีก็แต่ถนนเจริญกรุง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าถนนใหม่ สายเดียว ที่ยาวกว่า แต่ก็แคบกว่าปัจจุบันครึ่งหนึ่ง รถลากจึงเป็นเจ้าถนนแทนรถม้าซึ่งครองถนนแต่เดิม
ปัญหาการแย่งคนโดยสาร แย่งบรรทุกสิ่งของระหว่างรถรับจ้างด้วยกัน จนเกิดเรื่องวิวาทถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันและกัน ผู้โดยสารพลอยบาดเจ็บก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
เป็นที่มาของการตรา...พระราชบัญญัติรถลากรัตนโกสินทร์ศก 120 บังคับให้เจ้าของรถคนลากรถ ต้องไปจดทะเบียน แลนำรถมาตรวจสภาพต่อเจ้าพนักงาน ผู้จดทะเบียน ถ้าผู้ใดไม่ไปจดทะเบียน หรือใช้ใบอนุญาตสิ้นกำหนด หรือขูดลบเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายรถฯลฯ ผู้นั้นมีความผิด ปรับเป็นเงินไม่เกินคราวละ 40 บาท หรือจำคุกครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 เดือน
สำหรับผู้ลากรถและการบรรทุก ให้ปฏิบัติดังนี้
ผู้ลากรถต้องมีเครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อย และมีเครื่องหมายตรงกับจำนวนเลขหมายของรถติดตัว ต้องเดินรถข้างถนน และหลีกรถทางซ้ายของผู้ลาก ต้องจุดโคมไฟที่หน้ารถทั้งสองข้างในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น ต้องจอดรถพักรถตามที่ซึ่งเจ้าพนักงานได้กำหนดไว้
ให้รับผู้โดยสารได้ 3 คนคือผู้ใหญ่ 2 คน เด็กอายุไม่เกิน 10 ขวบ 1 คน ห้ามไม่ให้บรรทุกของโสโครก ห้ามไม่ให้บรรทุกสัตว์มีชีวิต เช่น สุกร แกะ แพะ เป็นต้น ห้ามไม่ให้บรรทุกคนโดยสารที่เป็นโรคติดต่อ ห้ามไม่ให้บรรทุกศพคน
ส่วนที่เกี่ยวกับผู้โดยสาร พระราชบัญญัติ นี้ได้บ่งไว้ว่า ถ้าทุบตีหรือทำร้ายคนลากรถ ฯลฯ หรือทำอันตรายรถ หรือผู้โดยสารไม่ยอมให้ค่าโดยสารหรือค่าบรรทุก เจ้าพนักงานกอง ตระเวนจะต้องระงับเหตุ และจับกุมส่งฟ้องศาล
ให้พิจารณาลงโทษเฉพาะ โดยบ่งไว้ ว่า ถ้าไม่ให้ค่าโดยสาร จะต้องถูกปรับไหม เป็นเงินไม่เกิน 8 บาท พร้อมทั้งเงินค่าโดยสารอีกต่างหาก
มาตรา 16 เมื่อเจ้าพนักงานผู้ตรวจรถลาก หรือเจ้าพนักงานในกรมกองตระเวน ได้เห็นรถลากคันใด ซึ่งเที่ยวรับจ้างอยู่ มีอาการอันไม่สมควร ตัวอย่างดังต่อไปนี้คือ
ข้อ 4 ถ้าผู้ลากรถทิ้งผู้โดยสาร ในที่ไม่ สมควรก่อนสิ้นระยะทาง อันได้สัญญากัน ก็ดี ข้อ 5 ถ้าผู้ลากรถเรียกเงินค่าจ้างเกินกว่าอัตรา หรือใช้คำหยาบช้า หรือประพฤติกิริยาหยาบคายต่อผู้โดยสาร ก็ดี
ให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจ หรือเจ้าพนักงานกรมกองตระเวน มีอำนาจที่จะเกาะผู้ลากรถนั้นมาติเตียนเรียกเงินประกันครั้งหนึ่งไม่เกิน 4 บาท อย่าให้ประพฤติผิดเช่นนั้นอีกภายในหนึ่งเดือน จึงคืนเงินให้
สำหรับอัตราค่าโดยสาร ระยะทางภายใน 25 เส้น คนเดียว 4 อัฐ สองคน 6 อัฐ ระยะทาง 50 เส้น คนเดียว 6 อัฐ สองคน 8 อัฐ ระยะทาง 75 เส้น คนเดียว 8 อัฐ สองคน 10 อัฐ ระยะทางทุกๆ 25 เส้นต่อไป ระยะละ 2 อัฐ
ค่าคอย ถ้าเกิน 15 นาที จนชั่วโมงหนึ่ง ค่าคอย 4 อัฐ ถ้าเกินกว่านั้น ภายในชั่วโมงละ 4 อัฐ
เทพชู ทับทอง เขียนไว้ว่า แม้จะมีการกำหนดอัตราค่าโดยสาร แต่กระนั้นในความเป็นจริง คนลากรถกับคนโดยสาร ยังต่อรองกันได้.
ที่มา : คอลัมน์ คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย...บาราย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น