อาจารย์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ แปลบางส่วนของหนังสือ A Short History ของ
Prof. David K. wyatt ใช้เป็นชุดความรู้เขียนเรื่องน่านเจ้า
ไว้ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนตุลาคม 2555 เพื่อที่จะบอกเล่าว่า
ชนเผ่าที่เรียกว่า น่านเจ้า นั้น ไม่ใช่เผ่าไท
นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 ชาวจีนครอบครองเหนือดินแดนที่เป็นมณฑลยูนนานปัจจุบัน ได้พบกับความหลากหลายของผู้คนที่จีนเรียกว่า
(หม่าน) คนป่าคนเถื่อน คนพวกนี้บางพวกรับอารยธรรมจีน ต่อมาในศตวรรษที่ 3 นับแต่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น ตระกูลคนเผ่านี้ได้กลายเป็นเจ้าปกครองมณฑล จีนเรียกว่า หวู-หม่าน หรือคนป่า-คนเถื่อนดำ
ศตวรรษที่ 7 จีนครอบครองยูนนานได้ครึ่งหนึ่ง ขยายเขตปกครองไปทางตะวันตกของแม่น้ำโขง แล้วก็เริ่มตั้งรับการขยายตัวของทิเบต จีนพยายามรักษาความมั่นคงของเขตแดน ด้วยการเป็นพันธมิตรกับแว่นแคว้นในท้องถิ่น
พันธมิตรที่ว่า คือพระเจ้าพีล่อโก๊ะ หนึ่งใน 6 ของเจ้าแว่นแคว้นเล็กๆ รอบทะเลสาบต้าลี่ในยูนนานตะวันตก
พระเจ้าพีล่อโก๊ะถือว่าหกรัฐนี้อยู่ใต้การปกครองของตน ตั้งแต่ปี ค.ศ.730 จนถึงปี 738 ก็ได้รับการรับรองจากราชสำนักจีนว่าเป็นเจ้าทางใต้ หรือเจ้าแห่งยูนนาน
ความสัมพันธ์ของจีนกับเจ้าทางใต้ (น่านเจ้า) ดำเนินไปด้วยดีจนถึงปี 740 ก็กลับเลวร้าย ระหว่างปี 752-754 ในสมัยลูกชายพีล่อโก๊ะ คือโก๊ะล่อฝง
จีนส่งทัพโจมตีน่านเจ้าถึง 4 ทัพ แต่ทุกครั้งก็แตกพ่ายให้กับกองทัพโก๊ะล่อฝง น่านเจ้าขยายการปกครองเหนือยูนนานตะวันออก กับกุ้ยโจวตะวันตก
จีนเริ่มยุ่งกับการกบฏ แรงกดดันต่อน่านเจ้าก็ลดลง น่านเจ้าเริ่มสถาปนาอาณาจักรใหม่ ในเขตตะวันตกเฉียงใต้ สร้างเมืองคุนหมิงเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 ในปี 764
หม่านชู จดหมายเหตุที่เขียนขึ้นโดยข้าสำนักจีนราวปี 860 เขียนว่า น่านเจ้าเป็นรัฐกึ่งทหาร ได้รับการจัดตั้งเป็นอย่างดี ปกครองอยู่เหนือชนเผ่าชาติพันธุ์ การบริหารแบ่งเป็น 6 คณะกรรมการ รับผิดชอบการสงคราม การประชากร และรายได้ การรับรองแขกต่างประเทศ การลงโทษทัณฑ์ การแรงงานและการระดมพล
เหนือคณะกรรมการชุดนี้ ยังมีอัครเสนา 12 แต่ละวันต้องเข้าเฝ้า “น่านเจ้า” เพื่อพิจารณาข้อราชการ
ทั้งยังมี “ข้าราชการบริสุทธิ์ยุติธรรม” ทั้ง 6 ทำหน้าที่เหมือนองคมนตรีของเจ้า อีกด้วย
การปกครองนี้ รวมถึงลำดับขั้นของเจ้าหน้าที่ จากระดับหัวหน้า ที่ดูแลหนึ่งร้อยครัวเรือน ไปถึงเจ้าเมืองที่ควบคุมถึง 1 หมื่นครัวเรือน หัวหน้าครอบครัวที่เป็นชาย ต้องชำระภาษีเป็นข้าว 18 ลิตร รวมทั้งถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร
กองทัพน่านเจ้ามีประสิทธิภาพ มีพลัง มีวินัยดี มีผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการสู้รบ
น่านเจ้า เป็นมหาอำนาจใหญ่ สร้างแรงกดดันต่ออาณาจักรพยูในพม่าภาคกลาง จู่โจมดินแดนคือพม่าตอนใต้กับไทยตอนเหนือ ส่งกองทัพไปโจมตีเขมรเจนละ มีบันทึกว่า “ไปไกลถึงชายฝั่งทะเล” ส่งกองทัพไปโจมตีอันนัม (เวียดนามเหนือ) ดินแดนในอารักขาของจีน
ต่อจากนั้น อำนาจของน่านเจ้าก็ค่อยลดลง จีนกลับฟื้นตัวขึ้นใหม่ เวียดนามเป็นอิสระในปี 938
ความสำคัญของน่านเจ้า ต่อประวัติศาสตร์ของคนเผ่าไท ไม่ได้อยู่ที่ว่า ใคร คือเจ้าผู้ปกครอง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นคนเผ่าไท
เจ้าของน่านเจ้า สืบสายกันทางบิดา มีระบบการตั้งชื่อ พยางค์แรกของชื่อเจ้าแต่ละคน คือพยางค์เดียวกันกับพยางค์สุดท้ายของนามบิดา พี–ล่อ–โก๊ะ. โก๊ะ–ล่อ–ฝง. ฝง–เจี่ย–อี้. อี้–มู่–ซุ่น
นี่คือแบบแผนที่พบทั่วไป ในหมู่ชนเผ่าโลโล่ กับกลุ่มทิเบต-พม่า ไม่เป็นที่รู้จักกันในชนเผ่าไท คำศัพท์น่านเจ้า ในหนังสือ หม่านชู ก็เทียบได้กับภาษาโลโล่ ไม่ใช่กับภาษาไท
ตำนานชนเผ่าไท หรือพงศาวดาร ก็ไม่มีการเอ่ยถึงอาณาจักรน่านเจ้า หรือเจ้าตนใดเลย ทั้งยังมีหลักฐาน บรรดาหัวหน้าเผ่าโลโล่ ในยูนนานกลาง สืบบรรพบุรุษของตนกลับไปยังราชสำนักน่านเจ้า
ในทางกลับกัน ความสำคัญของน่านเจ้า น่าจะพิจารณาต่อผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าไท ที่อาศัยอยู่บริเวณทางตอนใต้และทางตอนตะวันออก ตามชายขอบของจักรวรรดิ เช่นการเปิดเส้นทางคมนาคมข้ามแดนระหว่างอินเดีย-จีน ผลลัพธ์ครั้งนี้สำคัญยิ่ง น่านเจ้ากลายเป็นรัฐนับถือพุทธ และคงได้ช่วยในการเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนที่ตนครอบครอง รวมทั้งการเผยแพร่ศิลปะและวิทยาการของอินเดีย
การที่น่านเจ้าเรืองอำนาจ ได้ปิดกั้นไม่ให้ดินแดนตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใน ติดต่อกับจีนได้โดยตรง
ในเวลาเดียวกัน อำนาจของน่านเจ้าก็ช่วยทำให้การค้าขายข้ามแดนระหว่างอินเดียกับจีน กระตุ้นต่อการค้าในท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือ เจ้าในท้องถิ่นก็คงจับโอกาสทางการเมืองใหม่นี้ได้ หรือไม่ก็ได้รับอารักขาในความสัมพันธ์ต่อสู้กับเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งยังลอกเลียนรูปแบบการปกครองกับการทหารของน่านเจ้าด้วย
แม้ว่าบรรดาเจ้าเผ่าไทที่ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของน่านเจ้า แต่ก็อาจถูกกดดันให้รวบรวมกำลังพล เพื่อป้องกันตนเอง
น่านเจ้าเป็นระบอบแรกที่เข้ามาพัวพันกับที่สูงตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป กล่าวคือในดินแดนที่ปัจจุบันคือรัฐฉานของพม่า ไทยภาคเหนือ และลาว ตลอดจนเวียดนามตะวันตกเฉียงเหนือ
หลักฐานเกี่ยวกับน่านเจ้าที่หลงเหลือ
ตกทอดมา ไม่ได้กล่าวถึงอะไรที่จะทำให้คิดว่านี่คือรัฐของเผ่าไทในดินแดนที่สูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในศตวรรษที่ 9 และ 10
แต่หลักฐานที่กล่าวถึงบรรดารัฐเกือบทั้งหมดที่อยู่ข้างเคียงทางใต้ และเป็นปฏิปักษ์กับเผ่าไทในศตวรรษต่อๆมา ยังมีความสำคัญในการสร้างอารยธรรมของชนเผ่าไท จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ซึ่งรวมถึงหน่วยของเวียดนาม อาณาจักรจามปา จักรวรรดิเขมรที่อังกอร์ รวมทั้งอาณาจักรในไทยภาคกลาง กับภาคเหนือ อาณาจักรมอญกับพยูในพม่า
อาณาจักรเหล่านี้ หันหน้าออกทะเล นับแต่ศตวรรษที่ 9 อาณาจักรเหล่านี้เข้มแข็งขึ้น แผ่ขยายดินแดนออกไป และชนเผ่าไทก็จะเข้าไปพัวพันในชีวิตและการเมืองของอาณาจักรเหล่านั้น.
นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 ชาวจีนครอบครองเหนือดินแดนที่เป็นมณฑลยูนนานปัจจุบัน ได้พบกับความหลากหลายของผู้คนที่จีนเรียกว่า
(หม่าน) คนป่าคนเถื่อน คนพวกนี้บางพวกรับอารยธรรมจีน ต่อมาในศตวรรษที่ 3 นับแต่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น ตระกูลคนเผ่านี้ได้กลายเป็นเจ้าปกครองมณฑล จีนเรียกว่า หวู-หม่าน หรือคนป่า-คนเถื่อนดำ
ศตวรรษที่ 7 จีนครอบครองยูนนานได้ครึ่งหนึ่ง ขยายเขตปกครองไปทางตะวันตกของแม่น้ำโขง แล้วก็เริ่มตั้งรับการขยายตัวของทิเบต จีนพยายามรักษาความมั่นคงของเขตแดน ด้วยการเป็นพันธมิตรกับแว่นแคว้นในท้องถิ่น
พันธมิตรที่ว่า คือพระเจ้าพีล่อโก๊ะ หนึ่งใน 6 ของเจ้าแว่นแคว้นเล็กๆ รอบทะเลสาบต้าลี่ในยูนนานตะวันตก
พระเจ้าพีล่อโก๊ะถือว่าหกรัฐนี้อยู่ใต้การปกครองของตน ตั้งแต่ปี ค.ศ.730 จนถึงปี 738 ก็ได้รับการรับรองจากราชสำนักจีนว่าเป็นเจ้าทางใต้ หรือเจ้าแห่งยูนนาน
ความสัมพันธ์ของจีนกับเจ้าทางใต้ (น่านเจ้า) ดำเนินไปด้วยดีจนถึงปี 740 ก็กลับเลวร้าย ระหว่างปี 752-754 ในสมัยลูกชายพีล่อโก๊ะ คือโก๊ะล่อฝง
จีนส่งทัพโจมตีน่านเจ้าถึง 4 ทัพ แต่ทุกครั้งก็แตกพ่ายให้กับกองทัพโก๊ะล่อฝง น่านเจ้าขยายการปกครองเหนือยูนนานตะวันออก กับกุ้ยโจวตะวันตก
จีนเริ่มยุ่งกับการกบฏ แรงกดดันต่อน่านเจ้าก็ลดลง น่านเจ้าเริ่มสถาปนาอาณาจักรใหม่ ในเขตตะวันตกเฉียงใต้ สร้างเมืองคุนหมิงเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 ในปี 764
หม่านชู จดหมายเหตุที่เขียนขึ้นโดยข้าสำนักจีนราวปี 860 เขียนว่า น่านเจ้าเป็นรัฐกึ่งทหาร ได้รับการจัดตั้งเป็นอย่างดี ปกครองอยู่เหนือชนเผ่าชาติพันธุ์ การบริหารแบ่งเป็น 6 คณะกรรมการ รับผิดชอบการสงคราม การประชากร และรายได้ การรับรองแขกต่างประเทศ การลงโทษทัณฑ์ การแรงงานและการระดมพล
เหนือคณะกรรมการชุดนี้ ยังมีอัครเสนา 12 แต่ละวันต้องเข้าเฝ้า “น่านเจ้า” เพื่อพิจารณาข้อราชการ
ทั้งยังมี “ข้าราชการบริสุทธิ์ยุติธรรม” ทั้ง 6 ทำหน้าที่เหมือนองคมนตรีของเจ้า อีกด้วย
การปกครองนี้ รวมถึงลำดับขั้นของเจ้าหน้าที่ จากระดับหัวหน้า ที่ดูแลหนึ่งร้อยครัวเรือน ไปถึงเจ้าเมืองที่ควบคุมถึง 1 หมื่นครัวเรือน หัวหน้าครอบครัวที่เป็นชาย ต้องชำระภาษีเป็นข้าว 18 ลิตร รวมทั้งถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร
กองทัพน่านเจ้ามีประสิทธิภาพ มีพลัง มีวินัยดี มีผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการสู้รบ
น่านเจ้า เป็นมหาอำนาจใหญ่ สร้างแรงกดดันต่ออาณาจักรพยูในพม่าภาคกลาง จู่โจมดินแดนคือพม่าตอนใต้กับไทยตอนเหนือ ส่งกองทัพไปโจมตีเขมรเจนละ มีบันทึกว่า “ไปไกลถึงชายฝั่งทะเล” ส่งกองทัพไปโจมตีอันนัม (เวียดนามเหนือ) ดินแดนในอารักขาของจีน
ต่อจากนั้น อำนาจของน่านเจ้าก็ค่อยลดลง จีนกลับฟื้นตัวขึ้นใหม่ เวียดนามเป็นอิสระในปี 938
ความสำคัญของน่านเจ้า ต่อประวัติศาสตร์ของคนเผ่าไท ไม่ได้อยู่ที่ว่า ใคร คือเจ้าผู้ปกครอง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นคนเผ่าไท
เจ้าของน่านเจ้า สืบสายกันทางบิดา มีระบบการตั้งชื่อ พยางค์แรกของชื่อเจ้าแต่ละคน คือพยางค์เดียวกันกับพยางค์สุดท้ายของนามบิดา พี–ล่อ–โก๊ะ. โก๊ะ–ล่อ–ฝง. ฝง–เจี่ย–อี้. อี้–มู่–ซุ่น
นี่คือแบบแผนที่พบทั่วไป ในหมู่ชนเผ่าโลโล่ กับกลุ่มทิเบต-พม่า ไม่เป็นที่รู้จักกันในชนเผ่าไท คำศัพท์น่านเจ้า ในหนังสือ หม่านชู ก็เทียบได้กับภาษาโลโล่ ไม่ใช่กับภาษาไท
ตำนานชนเผ่าไท หรือพงศาวดาร ก็ไม่มีการเอ่ยถึงอาณาจักรน่านเจ้า หรือเจ้าตนใดเลย ทั้งยังมีหลักฐาน บรรดาหัวหน้าเผ่าโลโล่ ในยูนนานกลาง สืบบรรพบุรุษของตนกลับไปยังราชสำนักน่านเจ้า
ในทางกลับกัน ความสำคัญของน่านเจ้า น่าจะพิจารณาต่อผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าไท ที่อาศัยอยู่บริเวณทางตอนใต้และทางตอนตะวันออก ตามชายขอบของจักรวรรดิ เช่นการเปิดเส้นทางคมนาคมข้ามแดนระหว่างอินเดีย-จีน ผลลัพธ์ครั้งนี้สำคัญยิ่ง น่านเจ้ากลายเป็นรัฐนับถือพุทธ และคงได้ช่วยในการเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนที่ตนครอบครอง รวมทั้งการเผยแพร่ศิลปะและวิทยาการของอินเดีย
การที่น่านเจ้าเรืองอำนาจ ได้ปิดกั้นไม่ให้ดินแดนตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใน ติดต่อกับจีนได้โดยตรง
ในเวลาเดียวกัน อำนาจของน่านเจ้าก็ช่วยทำให้การค้าขายข้ามแดนระหว่างอินเดียกับจีน กระตุ้นต่อการค้าในท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือ เจ้าในท้องถิ่นก็คงจับโอกาสทางการเมืองใหม่นี้ได้ หรือไม่ก็ได้รับอารักขาในความสัมพันธ์ต่อสู้กับเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งยังลอกเลียนรูปแบบการปกครองกับการทหารของน่านเจ้าด้วย
แม้ว่าบรรดาเจ้าเผ่าไทที่ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของน่านเจ้า แต่ก็อาจถูกกดดันให้รวบรวมกำลังพล เพื่อป้องกันตนเอง
น่านเจ้าเป็นระบอบแรกที่เข้ามาพัวพันกับที่สูงตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป กล่าวคือในดินแดนที่ปัจจุบันคือรัฐฉานของพม่า ไทยภาคเหนือ และลาว ตลอดจนเวียดนามตะวันตกเฉียงเหนือ
หลักฐานเกี่ยวกับน่านเจ้าที่หลงเหลือ
ตกทอดมา ไม่ได้กล่าวถึงอะไรที่จะทำให้คิดว่านี่คือรัฐของเผ่าไทในดินแดนที่สูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในศตวรรษที่ 9 และ 10
แต่หลักฐานที่กล่าวถึงบรรดารัฐเกือบทั้งหมดที่อยู่ข้างเคียงทางใต้ และเป็นปฏิปักษ์กับเผ่าไทในศตวรรษต่อๆมา ยังมีความสำคัญในการสร้างอารยธรรมของชนเผ่าไท จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ซึ่งรวมถึงหน่วยของเวียดนาม อาณาจักรจามปา จักรวรรดิเขมรที่อังกอร์ รวมทั้งอาณาจักรในไทยภาคกลาง กับภาคเหนือ อาณาจักรมอญกับพยูในพม่า
อาณาจักรเหล่านี้ หันหน้าออกทะเล นับแต่ศตวรรษที่ 9 อาณาจักรเหล่านี้เข้มแข็งขึ้น แผ่ขยายดินแดนออกไป และชนเผ่าไทก็จะเข้าไปพัวพันในชีวิตและการเมืองของอาณาจักรเหล่านั้น.
ที่มา : คอลัมน์ คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย...บาราย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น