ในจำนวนทายาท
เจงกิสข่าน ผู้นำมองโกลผู้ยิ่งใหญ่ คนในเอเชียรู้จัก กุบไลข่าน
ผู้ยึดครองแผ่นดินจีน สถาปนาราชวงศ์หงวน มากกว่าลูกหลานเจงกิสข่านสายอื่น
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับย้อนรอย จักรวรรดิมหาอำนาจ (แอนดรูว์ เทย์เลอร์ เขียน ศรรวริศา เมฆไพบูลย์ แปล สำนักพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง จำกัด) เขียนไว้ว่า ก่อนสิ้นชีวิตเจงกิสข่าน ประกาศให้บุตรชาย 4 คน แบ่งกันปกครองดินแดนคนละส่วน
แต่ได้แต่งตั้งบุตรชายคนที่ 3 คือโอโกได (ค.ศ.1229–1241) สืบทอดตำแหน่งข่าน หรือข่านผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำชนเผ่าทั้งหมด
กองทัพโอโกไดข่านบุกลึกเข้าไปในเปอร์เซีย 10 ปีต่อมา ก็บุกขึ้นเหนือไปยังรัสเซีย รุกเข้ารัฐวอลกาบัลแกเรียในปี 1229 บุกต่อไปจอร์เจีย ในปี 1236 และบุกต่อรัฐเคียฟในปี 1237
นี่คือการรุกรานรัสเซียในช่วงฤดูหนาว ที่ประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์
ถึงปี 1241 กองทัพโอโกไดข่าน ก็เบนเข็มไปหายุโรป
กองทัพบาตูข่าน หลานเจงกิสข่าน เคลื่อนพล ไปทางตะวันตก ผ่านเทือกเขาคาร์เพเทียน เข้าสู่โปแลนด์ และฮังการี พวกเขาล่อกองทัพผสมโปแลนด์เยอรมันเข้าสนามรบที่เมืองเลกนิตชา เริ่มด้วยการแสร้งทำเป็นถอยฉาก ล่อให้ข้าศึกตามเข้าไปในชัยภูมิที่ใช้พลธนูจู่โจม สังหารม้าที่งุ่มง่ามของอัศวินยุโรป
ก่อนจะบดขยี้ แล้วล่าถอยไปครั้งแล้วครั้งเล่า
เสร็จศึกนี้ ชาวมองโกลเสียรี้พลไปไม่น้อย แต่ก็คุ้มค่าเพราะแผ้วถางทางเข้าโปแลนด์สำเร็จ
หลังการยุทธที่เลกนิตชาได้สองวัน ทัพหลักมองโกลก็เอาชนะทัพกษัตริย์เบลาที่ 4 ได้ ที่โมฮี ในฮังการี และยึดเมืองเปสต์ไว้ได้
ขณะทหารมองโกลบุกอาละวาดในเขตชนบท ความตื่นกลัวแพร่ลามไปทั่วภูมิภาค ธันวาคม 1241 ทหารมองโกลกลุ่มแรกก็ข้ามแม่น้ำดานูป ที่กลายเป็นน้ำแข็ง มุ่งหน้าเข้าสู่เวียนนา
ดูเหมือนไม่มีอะไรขัดขวางทัพมองโกล ไม่ให้บุกเยอรมัน อิตาลี และดินแดนยุโรปที่เหลือได้ แต่แล้วกองทัพมองโกลก็ยุติการรุกคืบอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย พวกเขาหยุดชะงักอยู่สองสามวัน แล้วก็เริ่มถอนกำลัง
สาเหตุแห่งการถอนทัพทันทีคือ การสิ้นชีวิตกะทันหันของโอโกไดข่าน ที่เมืองการาโกลัม เมืองหลวงอันห่างไกลในทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายของมองโกเลีย
บาตูข่านและผู้นำมองโกลทุกคนจะต้องกลับไปคัดเลือกผู้นำคนต่อไป พิทักษ์ผลประโยชน์ของตนในการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองและการค้า
สำหรับชาวยุโรปผู้หวาดหวั่น เหตุการณ์ครั้งนั้นดูราวกับเป็นปาฏิหาริย์
หลังจากนั้น ชาวมองโกลก็ไม่เคยบุกลึกไปทางตะวันตกอีกเลย
ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากโอโกไดข่าน คือกูยุกข่าน (1246-1248) เคยได้รับสาส์นจากพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่สี่ ทรงบัญชาให้ผู้นำ
มองโกลยุติการโจมตียุโรป และยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ และยอมอยู่ใต้พระราชอำนาจของพระสันตะปาปา
กูยุกข่านกำชับให้คณะทูตพระสันตะปาปา นำคำตอบกลับไปทูลอย่างเที่ยงตรง และครบถ้วนทุกถ้อยคำ
“พระเจ้ามีพระประสงค์ให้ชาวมองโกลครอบครองโลก พระสันตะปาปาต่างหากที่ต้องยอมสยบ หาใช่ข่านผู้ยิ่งใหญ่ไม่”
เมื่อสาส์นจากกูยุกข่าน ไปถึงกรุงโรม เขาเสีย ชีวิตก่อน คาดว่าเขาถูกฆาตกรรมในเกมชิงอำนาจระหว่างพี่น้องผู้ขึ้นครองตำแหน่งแทนคือ มองเกข่าน (1251-1259)
เช่นเดียวกัน มองเกข่านเชื่อว่าพระเจ้าลิขิตให้ชาวมองโกลเป็นผู้ปกครองโลก ในเบื้องตะวันออก เขานำทัพบุกจีนอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ก็ส่งฮูเลกู (1217-1265) นำทัพใหญ่มุ่งสู่แบกแดด เมืองหลวงของรัฐในปกครองของกาหลิบชาวอาหรับ
ฮูเลกูเคลื่อนพลไปตามสองฟากฝั่งแม่น้ำ
ไทกริส ตั้งทัพล้อมเมืองไว้เป็นเวลานาน และบุกยึดแบกแดดได้ภายใน 2 สัปดาห์ นี่คือการทำลายล้าง ศูนย์กลางวัฒนธรรมและอารยธรรมอาหรับครั้งยิ่งใหญ่ เปรียบได้เหมือนการปล้นทำลายคอนสแตนติโนเปิล ของนักรบครูเสด เมื่อ 54 ปีก่อนหน้า
พลเมืองนับแสนถูกสังหาร หอสมุดใหญ่ที่เรียกว่าคฤหาสน์แห่งการเรียนรู้ สถานที่เก็บรักษาต้นฉบับโบราณจำนวนมากจากคอนสแตนติโนเปิล และฉบับแปลของปราชญ์อาหรับถูกโยนทิ้งลงแม่น้ำ สุเหร่า พระราชวัง อาคารอลังการถูกเผา
รัฐในปกครองของกาหลิบราชวงศ์อับ-บาซิด ถูกทำลายย่อยยับ แบกแดดนครแห่งอาหรับราตรีที่ยิ่งใหญ่พังพินาศไปอีกหลายร้อยปี
เสียงเล่าลือถึงความป่าเถื่อนโหดร้ายในแบกแดด แพร่สะพัดไปเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง เมื่อทัพมองโกลไปถึงเมืองดามัสกัส จึงไม่มีใครออกมาต้านทาน ทหารมองโกลจึงละเว้นดามัสกัสไว้ เดินทัพต่อไป เป้าหมายคืออียิปต์
ข่าวมองเกข่านสิ้นชีวิตมาถึง ฮูเลกูข่านจำเป็นต้องเดินทางกลับมองโกเลีย ในการเดินทางครั้งนี้ฮูเลกูประมาท ทิ้งทหารไว้เบื้องหลัง 2 หมื่นนาย เขามั่นใจว่า กำลังที่มีอยู่เพียงพอที่จะยึดอียิปต์ได้โดยง่าย แต่ผิดคาด
ในอียิปต์ตอนนั้น ชาวเมมลุก ชนชาติเติร์กผู้ทรหด เปลี่ยนฐานะจากทหารรับจ้างยึดอำนาจไว้ได้ เมื่อทูตมองโกลถือหนังสือเข้าไปสั่งให้ยอมแพ้ ทหารเมมลุกตัดหัวทูตมองโกล ตัดหัวเสียบประจานไว้ที่ประตูเมืองไคโร
และเมื่อสู้รบกัน ทหารมองโกลก็เจอคู่ต่อสู้ที่ฝีมือเหนือกว่า ผลของสงคราม แม่ทัพมองโกล ถูกจับประหารชีวิต ทหารที่เหลือถูกสังหารโหดเหี้ยม นี่คือความพ่ายแพ้ที่ทัพมองโกล ทัพที่เชื่อว่าพระเจ้าให้มาปกครองโลก เพิ่งประสบความพ่ายแพ้ครั้งนี้คือ ที่มาของความแตกแยกของจักรวรรดิมองโกล และรอยร้าวเริ่มเพิ่มขึ้น เมื่อหัวหน้าเผ่าบางเผ่า หันไปนับถือศาสนาอิสลาม.
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับย้อนรอย จักรวรรดิมหาอำนาจ (แอนดรูว์ เทย์เลอร์ เขียน ศรรวริศา เมฆไพบูลย์ แปล สำนักพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง จำกัด) เขียนไว้ว่า ก่อนสิ้นชีวิตเจงกิสข่าน ประกาศให้บุตรชาย 4 คน แบ่งกันปกครองดินแดนคนละส่วน
แต่ได้แต่งตั้งบุตรชายคนที่ 3 คือโอโกได (ค.ศ.1229–1241) สืบทอดตำแหน่งข่าน หรือข่านผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำชนเผ่าทั้งหมด
กองทัพโอโกไดข่านบุกลึกเข้าไปในเปอร์เซีย 10 ปีต่อมา ก็บุกขึ้นเหนือไปยังรัสเซีย รุกเข้ารัฐวอลกาบัลแกเรียในปี 1229 บุกต่อไปจอร์เจีย ในปี 1236 และบุกต่อรัฐเคียฟในปี 1237
นี่คือการรุกรานรัสเซียในช่วงฤดูหนาว ที่ประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์
ถึงปี 1241 กองทัพโอโกไดข่าน ก็เบนเข็มไปหายุโรป
กองทัพบาตูข่าน หลานเจงกิสข่าน เคลื่อนพล ไปทางตะวันตก ผ่านเทือกเขาคาร์เพเทียน เข้าสู่โปแลนด์ และฮังการี พวกเขาล่อกองทัพผสมโปแลนด์เยอรมันเข้าสนามรบที่เมืองเลกนิตชา เริ่มด้วยการแสร้งทำเป็นถอยฉาก ล่อให้ข้าศึกตามเข้าไปในชัยภูมิที่ใช้พลธนูจู่โจม สังหารม้าที่งุ่มง่ามของอัศวินยุโรป
ก่อนจะบดขยี้ แล้วล่าถอยไปครั้งแล้วครั้งเล่า
เสร็จศึกนี้ ชาวมองโกลเสียรี้พลไปไม่น้อย แต่ก็คุ้มค่าเพราะแผ้วถางทางเข้าโปแลนด์สำเร็จ
หลังการยุทธที่เลกนิตชาได้สองวัน ทัพหลักมองโกลก็เอาชนะทัพกษัตริย์เบลาที่ 4 ได้ ที่โมฮี ในฮังการี และยึดเมืองเปสต์ไว้ได้
ขณะทหารมองโกลบุกอาละวาดในเขตชนบท ความตื่นกลัวแพร่ลามไปทั่วภูมิภาค ธันวาคม 1241 ทหารมองโกลกลุ่มแรกก็ข้ามแม่น้ำดานูป ที่กลายเป็นน้ำแข็ง มุ่งหน้าเข้าสู่เวียนนา
ดูเหมือนไม่มีอะไรขัดขวางทัพมองโกล ไม่ให้บุกเยอรมัน อิตาลี และดินแดนยุโรปที่เหลือได้ แต่แล้วกองทัพมองโกลก็ยุติการรุกคืบอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย พวกเขาหยุดชะงักอยู่สองสามวัน แล้วก็เริ่มถอนกำลัง
สาเหตุแห่งการถอนทัพทันทีคือ การสิ้นชีวิตกะทันหันของโอโกไดข่าน ที่เมืองการาโกลัม เมืองหลวงอันห่างไกลในทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายของมองโกเลีย
บาตูข่านและผู้นำมองโกลทุกคนจะต้องกลับไปคัดเลือกผู้นำคนต่อไป พิทักษ์ผลประโยชน์ของตนในการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองและการค้า
สำหรับชาวยุโรปผู้หวาดหวั่น เหตุการณ์ครั้งนั้นดูราวกับเป็นปาฏิหาริย์
หลังจากนั้น ชาวมองโกลก็ไม่เคยบุกลึกไปทางตะวันตกอีกเลย
ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากโอโกไดข่าน คือกูยุกข่าน (1246-1248) เคยได้รับสาส์นจากพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่สี่ ทรงบัญชาให้ผู้นำ
มองโกลยุติการโจมตียุโรป และยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ และยอมอยู่ใต้พระราชอำนาจของพระสันตะปาปา
กูยุกข่านกำชับให้คณะทูตพระสันตะปาปา นำคำตอบกลับไปทูลอย่างเที่ยงตรง และครบถ้วนทุกถ้อยคำ
“พระเจ้ามีพระประสงค์ให้ชาวมองโกลครอบครองโลก พระสันตะปาปาต่างหากที่ต้องยอมสยบ หาใช่ข่านผู้ยิ่งใหญ่ไม่”
เมื่อสาส์นจากกูยุกข่าน ไปถึงกรุงโรม เขาเสีย ชีวิตก่อน คาดว่าเขาถูกฆาตกรรมในเกมชิงอำนาจระหว่างพี่น้องผู้ขึ้นครองตำแหน่งแทนคือ มองเกข่าน (1251-1259)
เช่นเดียวกัน มองเกข่านเชื่อว่าพระเจ้าลิขิตให้ชาวมองโกลเป็นผู้ปกครองโลก ในเบื้องตะวันออก เขานำทัพบุกจีนอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ก็ส่งฮูเลกู (1217-1265) นำทัพใหญ่มุ่งสู่แบกแดด เมืองหลวงของรัฐในปกครองของกาหลิบชาวอาหรับ
ฮูเลกูเคลื่อนพลไปตามสองฟากฝั่งแม่น้ำ
ไทกริส ตั้งทัพล้อมเมืองไว้เป็นเวลานาน และบุกยึดแบกแดดได้ภายใน 2 สัปดาห์ นี่คือการทำลายล้าง ศูนย์กลางวัฒนธรรมและอารยธรรมอาหรับครั้งยิ่งใหญ่ เปรียบได้เหมือนการปล้นทำลายคอนสแตนติโนเปิล ของนักรบครูเสด เมื่อ 54 ปีก่อนหน้า
พลเมืองนับแสนถูกสังหาร หอสมุดใหญ่ที่เรียกว่าคฤหาสน์แห่งการเรียนรู้ สถานที่เก็บรักษาต้นฉบับโบราณจำนวนมากจากคอนสแตนติโนเปิล และฉบับแปลของปราชญ์อาหรับถูกโยนทิ้งลงแม่น้ำ สุเหร่า พระราชวัง อาคารอลังการถูกเผา
รัฐในปกครองของกาหลิบราชวงศ์อับ-บาซิด ถูกทำลายย่อยยับ แบกแดดนครแห่งอาหรับราตรีที่ยิ่งใหญ่พังพินาศไปอีกหลายร้อยปี
เสียงเล่าลือถึงความป่าเถื่อนโหดร้ายในแบกแดด แพร่สะพัดไปเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง เมื่อทัพมองโกลไปถึงเมืองดามัสกัส จึงไม่มีใครออกมาต้านทาน ทหารมองโกลจึงละเว้นดามัสกัสไว้ เดินทัพต่อไป เป้าหมายคืออียิปต์
ข่าวมองเกข่านสิ้นชีวิตมาถึง ฮูเลกูข่านจำเป็นต้องเดินทางกลับมองโกเลีย ในการเดินทางครั้งนี้ฮูเลกูประมาท ทิ้งทหารไว้เบื้องหลัง 2 หมื่นนาย เขามั่นใจว่า กำลังที่มีอยู่เพียงพอที่จะยึดอียิปต์ได้โดยง่าย แต่ผิดคาด
ในอียิปต์ตอนนั้น ชาวเมมลุก ชนชาติเติร์กผู้ทรหด เปลี่ยนฐานะจากทหารรับจ้างยึดอำนาจไว้ได้ เมื่อทูตมองโกลถือหนังสือเข้าไปสั่งให้ยอมแพ้ ทหารเมมลุกตัดหัวทูตมองโกล ตัดหัวเสียบประจานไว้ที่ประตูเมืองไคโร
และเมื่อสู้รบกัน ทหารมองโกลก็เจอคู่ต่อสู้ที่ฝีมือเหนือกว่า ผลของสงคราม แม่ทัพมองโกล ถูกจับประหารชีวิต ทหารที่เหลือถูกสังหารโหดเหี้ยม นี่คือความพ่ายแพ้ที่ทัพมองโกล ทัพที่เชื่อว่าพระเจ้าให้มาปกครองโลก เพิ่งประสบความพ่ายแพ้ครั้งนี้คือ ที่มาของความแตกแยกของจักรวรรดิมองโกล และรอยร้าวเริ่มเพิ่มขึ้น เมื่อหัวหน้าเผ่าบางเผ่า หันไปนับถือศาสนาอิสลาม.
ที่มา : คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย...บาราย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น