คำนำ

เพื่อน ๆ ที่รัก...เราชอบอ่านคอลัมน์ "คัมภีร์จากแผ่นดิน" ของบาราย ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐประจำวันอาทิตย์มาก ท่านจะเขียนเล่าประวัติศาสตร์ที่เราไม่เคยอ่านหรือเรียนมาก่อน เราชอบคอลัมน์ของท่านมาก อ่านแล้วได้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ดีมากเลย ซึ่งไม่มีในหนังสือเีีรียนของพวกเราเลย เราจึงตัดคอลัมน์นี้ไว้ และไม่อยากให้สูญหาย และอยากจะเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ได้อ่าน จึงได้สร้างไว้ในบล๊อกของ google ซึ่งเป็นบล๊อกที่ให้พื้นที่ฟรี และจะทำไปเรื่อย ๆ เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันดีไว้จนกว่าโลกของไซเบอร์จะล่มสลาย...เชิญเพื่อน ๆ อ่านได้เลยค่ะ บล๊อกหนึ่งจะมี 20 เรื่อง...

พระนามพระเจ้าตาก


พระนามพระเจ้าตาก


หนังสือชุดบันทึกแผ่นดิน ตอนเรื่องเก่าเล่าสนุก (สำนักพิมพ์สยามบันทึก) โรม บุนนาค เขียนถึงเรื่องพระนามของพระเจ้าตากสินไว้ว่า...เพราะก่อนทรงกู้ชาติ ตำแหน่งสุดท้าย เป็นเจ้าเมืองตาก และพระนามเดิมของพระองค์  “สิน
นี่คือที่มาของพระนาม ที่เรียกกันทั่วไปส่วนพระนาม พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เพราะพระองค์เป็นผู้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และทรงเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวของนครหลวงแห่งนี้
 

ทั้งสองพระนาม ล้วนแต่เป็นพระนามที่ชาวบ้านเรียกขาน โรม บุนนาค ตั้งคำถามพระ นามจริง เป็นทางราชการของพระองค์ท่าน คืออะไรกันแน่ 
สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องไทยรบพม่าไว้ในเชิงอรรถว่า    
เมื่อเจ้าตากลงมาตั้งอยู่ที่เมืองธนบุรีทำพิธีราชาภิเษกในปีกุน พ.ศ.2310 นั้น หนังสือ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ขนาน พระนามว่าสมเด็จพระบรมราชานับเป็น...พระบรมราชาองค์ที่ 4          
แต่ในหนังสือเก่า เรียกว่า ขุนหลวงตาก บ้าง เจ้ากรุงธนบุรีบ้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีบ้าง        
มีคำกล่าวกันแต่ก่อนว่า เมื่อเจ้าตากทำพิธีราชาภิเษก หาพราหมณ์ทำพิธีราชาภิเษกไม่ได้ เห็นเป็นการบกพร่อง ไม่ต้องราชประเพณี จึงไม่ใช้พระราชโองการจนตลอดรัชกาล    
แต่ความจริง หาเป็นเช่นนั้นไม่
ในหนังสือแต่งตั้งเจ้านคร ซึ่งพบสำเนาเมื่อในรัชกาลที่ 5 ใช้พระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ และมีพระราชโองการตามแบบพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่าหมดทุกอย่าง 
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา มีพระนาม สมเด็จพระบรมราชา อยู่ 3 พระองค์        
พระองค์ที่ 1 คือพระเจ้าทรงธรรม สมเด็จพระบรมราชาที่ คือพระเชษฐาธิราช และสมเด็จพระบรมราชาองค์ที่ 3คือ พระเจ้าเอกทัศน์         
ทั้ง 3 พระองค์ไม่ได้มีเชื้อสายเกี่ยว ข้องกับพระเจ้าตากสินเลย          
โรม บุนนาค เขียนว่าปี พ.ศ.2497 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ขึ้นที่วงเวียนใหญ่ หนังสือลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2497 เขียนว่า...เรื่องการเปิดพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี...
ชื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี จึงนับเป็นชื่อทางการตั้งแต่นั้นมา   
ต่อมา ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2524 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เทิดพระนามสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช.



ที่มา : คอลัมน์  คัมภีร์จากแผ่นดิน   โดย...บาราย   หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น