ในหนังสือ
เรื่อง เลาะเหลี่ยมโลก กับประภัสสร เสวิกุล (สำนักพิมพ์สยามบันทึก)...ประภัสสร
เสวิกุล เขียนเรื่อง พระสยามเทวาธิราช เอาไว้ว่า...ในสมัยกรุงสุโขทัย
คนไทยเชื่อว่า มีพระขะพุงผี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาถึงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น มีความเชื่อว่าเทวดาที่คุ้มครองบ้านเมือง มีพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระหลักเมือง
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ ความหมายของพระเสื้อเมืองว่า คืออำนาจทางทหาร พระทรงเมือง คืออำนาจข้าราชการพลเรือน ส่วนพระหลักเมืองเป็นอำนาจตุลาการ
สามอำนาจที่ว่านี้ สื่อแสดงว่า บ้านเมืองจะร่มเย็นได้ ก็ต้องประกอบด้วยความเข้มแข็งทางทหาร การปกครองที่ดีงาม และกระบวนการด้านความยุติธรรมอันถูกต้องเที่ยงตรง
แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังให้การเคารพยำเกรงพระแก้ว พระกาฬ จนมีคำสาบานที่อ้างพระแก้วพระกาฬติดปาก พระแก้วคือพระแก้วมรกต ซึ่งถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมือง เพราะชื่อเมืองคือรัตนโกสินทร์ ซึ่งหมายถึงที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
ส่วนพระกาฬ หรือพระกาฬไชยศรี ที่เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำดวงวิญญาณมนุษย์ไปยมโลก
ในสมัย ร.4 ทรงพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุรอดพ้นภยันอันตรายมาได้เสมอ ชะรอยจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา
โปรดเกล้าฯให้พระองค์เจ้าพระประดิษฐวรการ ปั้นรูปสมมติขึ้น แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง มีลักษณะแบบเทวรูป มีความสูง 8 นิ้ว ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์ ทรงมงกุฎ ประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบเสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้ว ทำด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะแบบวิมานในเก๋งจีน
ถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช
โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาล ทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง
ร.4 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคาร และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 อันตรงกับวันปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณ
มาถึงสมัย ร.5 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราช เช่นเดียวกับพระราชบิดา นอกจากจะโปรดเกล้าฯให้สร้างพระบรมรูป ร.4 ในเครื่องทรงแบบพระสยามเทวาธิราชขึ้นองค์หนึ่ง ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต แล้ว
ยังโปรดเกล้าฯ ให้นำรูปพระสยามเทวาธิราชประทับนั่ง ใส่ในด้านหลังเหรียญกษาปณ์ ราคาเสี้ยว อัฐ และโสฬส ออกใช้ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย
รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เสด็จแทนพระองค์ไปทรงถวายเครื่องสังเวยพระสยามเทวาธิราช ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5
และระหว่างงานฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ในปี พ.ศ.2525 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราช ออกมาให้ประชาชนทั่วไปได้สักการบูชาเป็นครั้งแรก
ม.จ.หญิงพูนพิสมัย ดิสกุล ทรงบันทึกเรื่องพระสยามเทวาธิราชไว้ มีความตอนหนึ่งว่า
"เหตุการณ์ต่างๆ ดังเราได้ประสบมาด้วยตัวเอง ยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นว่า พระสยามเทวาธิราชนั้นมีจริง เราจงพร้อมใจกันอธิษฐาน ด้วยกุศลผลบุญที่เราทำมาแล้วด้วยดี ขอให้เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ จงได้คุ้มครองป้องกันภัย และโปรดประสิทธิ์ประสาทความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ประชาชนชาวสยามทั่วกันเทอญ..."
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาถึงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น มีความเชื่อว่าเทวดาที่คุ้มครองบ้านเมือง มีพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระหลักเมือง
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ ความหมายของพระเสื้อเมืองว่า คืออำนาจทางทหาร พระทรงเมือง คืออำนาจข้าราชการพลเรือน ส่วนพระหลักเมืองเป็นอำนาจตุลาการ
สามอำนาจที่ว่านี้ สื่อแสดงว่า บ้านเมืองจะร่มเย็นได้ ก็ต้องประกอบด้วยความเข้มแข็งทางทหาร การปกครองที่ดีงาม และกระบวนการด้านความยุติธรรมอันถูกต้องเที่ยงตรง
แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังให้การเคารพยำเกรงพระแก้ว พระกาฬ จนมีคำสาบานที่อ้างพระแก้วพระกาฬติดปาก พระแก้วคือพระแก้วมรกต ซึ่งถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมือง เพราะชื่อเมืองคือรัตนโกสินทร์ ซึ่งหมายถึงที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
ส่วนพระกาฬ หรือพระกาฬไชยศรี ที่เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำดวงวิญญาณมนุษย์ไปยมโลก
ในสมัย ร.4 ทรงพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุรอดพ้นภยันอันตรายมาได้เสมอ ชะรอยจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา
โปรดเกล้าฯให้พระองค์เจ้าพระประดิษฐวรการ ปั้นรูปสมมติขึ้น แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง มีลักษณะแบบเทวรูป มีความสูง 8 นิ้ว ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์ ทรงมงกุฎ ประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบเสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้ว ทำด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะแบบวิมานในเก๋งจีน
ถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช
โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาล ทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง
ร.4 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคาร และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 อันตรงกับวันปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณ
มาถึงสมัย ร.5 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราช เช่นเดียวกับพระราชบิดา นอกจากจะโปรดเกล้าฯให้สร้างพระบรมรูป ร.4 ในเครื่องทรงแบบพระสยามเทวาธิราชขึ้นองค์หนึ่ง ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต แล้ว
ยังโปรดเกล้าฯ ให้นำรูปพระสยามเทวาธิราชประทับนั่ง ใส่ในด้านหลังเหรียญกษาปณ์ ราคาเสี้ยว อัฐ และโสฬส ออกใช้ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย
รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เสด็จแทนพระองค์ไปทรงถวายเครื่องสังเวยพระสยามเทวาธิราช ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5
และระหว่างงานฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ในปี พ.ศ.2525 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราช ออกมาให้ประชาชนทั่วไปได้สักการบูชาเป็นครั้งแรก
ม.จ.หญิงพูนพิสมัย ดิสกุล ทรงบันทึกเรื่องพระสยามเทวาธิราชไว้ มีความตอนหนึ่งว่า
"เหตุการณ์ต่างๆ ดังเราได้ประสบมาด้วยตัวเอง ยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นว่า พระสยามเทวาธิราชนั้นมีจริง เราจงพร้อมใจกันอธิษฐาน ด้วยกุศลผลบุญที่เราทำมาแล้วด้วยดี ขอให้เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ จงได้คุ้มครองป้องกันภัย และโปรดประสิทธิ์ประสาทความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ประชาชนชาวสยามทั่วกันเทอญ..."
ที่มา : คอลัมน์ คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย...บาราย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น